• ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ • สำนักบริหารงานกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อุทยานฯ ผาแต้ม ร่วมกับ ม.สุรนารี วิจัยการใช้คลื่นความถี่ ระบุพิกัดจำลองการสื่อสารในถ้ำ

วันที่ 30 เมษายน 2565 นายประมวล รัตนวัน หัวหน้า​อุทยาน​แห่งชาติ​ผาแต้ม เปิดเผย​ว่า​ เจ้าหน้าฝ่ายวิชาการพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยฯ ที่ 4 (ห้วยทราย) เข้าร่วมฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโครงการวิจัยโครงการศึกษาแนวทางการใช้คลื่นความถี่สำหรับระบบสื่อสาร รวมทั้งการสร้างแบบจำลองและระบุตำแหน่งในถ้ำ จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์ เจ้าหน้าที่ กสทช. เข้าร่วม ณ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม​

โครงการศึกษาแนวทางการใช้คลื่นความถี่สำหรับระบบสื่อสาร รวมทั้งการสร้างแบบจำลองและระบุตำแหน่งในถ้ำเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินและพิบัติภัยในถ้ำ ได้สาธิตการทำงานของการใช้คลื่นความถี่สำหรับระบบสื่อสาร รวมทั้งการสร้างแบบจำลองและระบุตำแหน่งในถ้ำเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินและพิบัติภัย อีกทั้งต่อยอดสู่การทำแผนที่ในถ้ำและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในถ้ำ

สำหรับที่มาของโครงการฯ เริ่มต้นมาจากกรณีนักฟุตบอลทีมหมูป่า​ 13 ชีวิตได้ติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ปัญหาในขณะนั้นคือ ระบบการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายแทบทุกทางไม่สามารถกระทำได้เลย ที่ทำได้เป็นการลากสายใยแก้วไปที่โถงหนึ่งและลากสายระบบโทรศัพท์ทหารไปยังโถงสาม เพื่อทำการสื่อสารมาด้านนอกถ้ำและอีกหนึ่งปัญหาที่พบในครั้งนั้นคือ การพยายามที่จะใช้วิธีเจาะถ้ำเพื่อช่วยชีวิตทั้ง 13 คน ไม่สามารถระบุตำแหน่งผู้ติดค้างในถ้ำว่าอยู่ตำแหน่งไหนบนภูเขาที่อยู่เหนือโถงถ้ำนั้น ซึ่งอาจทำให้การเจาะถ้ำเพื่อการช่วยเหลืออาจมีความผิดพลาดของพิกัดของผู้ติดในถ้ำได้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการให้ทุนพัฒนาและวิจัยเพื่อดำเนินโครงการฯ นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด