วันที่ 10 มีนาคม 2565 นายสุรชัย ท่าเทศ หัวหน้าศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ นายมัญญา นาคพน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ดำเนินการจัดฝึกทบทวนเรื่องของการผูกเงื่อนเชือกกู้ภัยเบื้องต้น การทำอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บแบบประยุกต์ และการใช้อุปกรณ์ในรถกู้ชีพประจำอุทยานฯ โดยมีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่ปิงเข้ารับการฝึกทบทวนจำนวน 19 คน
การปฐมพยาบาล หมาย ถึง การช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บเป็นการฉุกเฉิน ก่อนที่จะได้รับการรักษาทางการแพทย์ การปฐมพยาบาลจึงเป็นการช่วยเหลือชั่วคราวระหว่างรอคอยการรักษาจากแพทย์ ในรายที่บาดเจ็บรุนแรง การปฐมพยาบาลอาจเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บรอดชีวิตได้
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Transporting)โดยใช้เปลหาม เปลหรือแคร่มีประโยชน์ในการเคลือนย้ายผู้ป่วย อาจทำได้ง่ายโดยดัดแปลงวัสดุ การใช้เปลหามจะสะดวกมากแต่ยุ่งยากบ้างขณะที่จะอุ้มผู้ป่วยวางบนเปลหรืออุ้มออกจากเปล วิธีการเคลื่อนย้าย ให้เริ่มต้นด้วยการอุ้มผู้ป่วยนอนราบบนเปล จากนั้นควรให้ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งเป็นคนออกคำสั่งให้ยกและหามเดิน พื่อความพร้อมเพรียงและนุ่มนวล ถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน คนหนึ่งหามทางด้านศีรษะ อีกคนหามทางด้านปลายเท้าและหันหน้าไปทางเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าผู้ช่วยเหลือที่หามทางด้านปลายเท้าจะเดินนำหน้า หากมีผู้ช่วยเหลือ 4 คน ช่วยหาม อีก 2 คน จะช่วยหามทางด้านข้างของเปลและหันหน้าเดินไปทางเดียวกัน วัสดุที่นำมาดัดแปลงทำเปลหามได้ เช่น บานประตูไม้ ผ้าห่มและไม้ยาวสองอัน วิธีทำเปลผ้าห่ม ปูผ้าห่มลงบนพื้น ใช้ไม้ยาวสองอัน ยาวประมาณ 2.20 เมตร อันที่ 1 สอดในผ้าห่มที่ได้พับไว้แล้ว อันที่ 2 วางบนผ้าห่ม โดยให้ห่างจากอันที่ 1 ประมาณ 60 ซม. จากนั้นพับชายผ้าห่มทับไม้อันที่ 2 และอันที่ 1 ตามลำดับ หรือการใช้เสื้อและไม้ยาว 2 อัน โดยนำเสื้อที่มีขนาดใหญ่พอๆกันมาสามตัว ติดกระดุมให้เรียบร้อย ถ้าไม่แน่ใจว่ากระดุมจะแน่นพอให้ใช้เข็มกลัดซ่อนปลายช่วยด้วย แล้วสอดไม้สองอันเข้าไปในแขนเสื้อก็ใช้ได้เช่นกัน