เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดช ศาลากลาง จังหวัดน่าน สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่ )โดย นายกมล นวลใย ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 ได้จัดให้มีการประชุม เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่าย จำนวน 54 เครือข่าย /องค์กร เพื่อร่วมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางการปฏิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมการป้องกันและแก้ไขไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก( PM 2.5) ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ท้องที่จังหวัดน่าน การจัดการประชุมในครั้งนี้ เป็นไปตาม แนวทางปฏิบัติ และข้อสั่งการ ตามนโยบาย ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมและบูรณาการกับทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่ อีกทั้งเพื่อเป้าหมาย ลดการเกิดไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ขนาดเล็ก( PM 2.5 )ตามตัวชี้วัด ที่กำหนด ประจำปี พ.ศ.2567 โดยท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายกฤชเพชร เพชระบูรณิน ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานการประชุมมีผู้เข้าร่วมจำนวน 200 คน
ในการประชุมได้สรุปผลการดำเนินงานประชุมฯ ดังนี้
ประเด็นที่ 1 สถานการณ์หมอกควันไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จังหวัดน่านมีค่า hotspot สูงเป็นอันดับ 2 จะเกิดขึ้นสูงในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่การเกษตรและเผาในพื้นที่ป่าเพื่อหาของป่าและล่าสัตว์
ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวอย่างแน่นอน
ประเด็นที่ 2 การคาดการณ์สภาพอากาศประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือ สถานการณ์เอลนิญโญมีผลกระทบถึงเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก และคาดว่าปริมาณฝนในอีกสามเดือนข้างหน้าคือเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมมีโอกาสฝนตกน้อย ประมาณ 10%
ประเด็นที่ 3 ได้พูดถึงมาตรการและการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน จะเป็นการกำหนดพื้นที่ในเขตป่าอนุรักษ์โดยจะมีมาตรการตรึงพื้นที่ อย่างเช่นจับจุดเช็คอินในพื้นที่ป่า มีจุดสังเกตไฟป่าเพื่อตรวจหา hotspot ก่อนที่ดาวเทียมจะจับได้
มีการคัดกรองบุคคลก่อนเข้าออกพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยกำหนดให้มีบัตรสีเขียวสำหรับบุคคลที่มีที่ทำกิน สีเหลืองสำหรับบุคคลที่เป็นภาคี สีแดงสำหรับบุคคลที่เข้ามาหาของป่าหากมีปัญหาเกิดขึ้นก็จะใช้กฎระเบียบที่คณะกรรมการตั้งขึ้นซึ่งจะมีการบังคับใช้กฎหมายจากเบาไปหาหนักเป็นไปตามพระราชบัญญัติป่าไม้ หากไม่มีบัตรก็จะดำเนินการสอบสวนและใช้วิธีทางกฏหมายต่อไป
สำหรับพื้นที่เขตป่าสงวนเน้นด้านการป้องกันรณรงค์การจัดการเชื้อเพลิงก่อนฤดูกาล จัดกิจกรรมให้มีการจัดฝึกอบรมให้คนจัดการไฟป่าอย่างมืออาชีพ และจัดประชุมเชิงปฎิบัติการหารือร่วมกับภาคีเครือข่ายเป็นต้น
ประเด็นที่ 4 ข้อเสนอจากเวทีแลกเปลี่ยนให้มีการจัดการบริหารเชิงพื้นที่โดยเน้นการขับเคลื่อนระดับตำบลให้เป็นศูนย์กลางในการร่วมกันกับทุกส่วนที่อยู่ในตำบลนั้นเพื่อบริหารจัดการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน ทั้งนี้จะมีการซักซ้อมการเข้าถึงช่วงฤดูกาล มีข้อเสนอแนะเรื่องการจัดการข้อมูล องค์ความรู้และทักษะต่างๆ ซึ่งถ้าทำเป็นระบบแล้วทุกภาคส่วนก็สามารถจะนำข้อมูลต่างๆเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้กับประชาชนได้รับทราบถึงผลเสียผล กระทบที่เกิดทั้งในด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจของชาวบ้าน ได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้ช่องทางการสื่อสารใหม่ใหม่เข้ามาร่วมด้วย โดยเน้นเรื่องการปลูกจิตสำนึกให้กับเด็กจนถึงเยาวชน
ประเด็นที่ 5 เป็นข้อเสนอเพิ่มเติมเช่นอำเภอสองแควมีอุปสรรคในเรื่องของการเข้าดับไฟป่าและเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับชายแดน ประสบกับปัญหาพื้นที่สูงชันซึ่งมีการยกประเด็นเรื่องการตัดถนนเรื่องนี้จะเป็นไปได้หรือไม่คงต้องผ่านกระบวน การพิจารณาในระดับต่อๆไป มีความต้องการให้องค์กรผู้ใช้น้ำซึ่งมีจำนวน 493 องค์กรกระจายอยู่ทุกตำบล มีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าด้วย เป็นต้น
การแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่จังหวัดน่าน จะบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ นั้น ที่ประชุมจะนำข้อหารือไปกำหนดเป็นมาตรการในการแก้ปัญหาต่อไป
ที่มา : สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 แพร่
ความรู้สึกทั้งหมด
Inthira Phuengsuk และ คนอื่นๆ อีก 85 คน