วันที่ 20 มิถุนายน 2565 นายจงคล้าย วรพงศธร รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร จิตอาสา ตามโครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า จังหวัดนครสวรรค์ โดยมี นายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า พร้อมด้วย นายปรีชา เดชพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พันเอกนภัทร ศรีธนโชติ เสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 31 พันโทณัฐพงศ์ นพศรี ผู้บังคับการกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 พันตำรวจเอกนิวัติ พิพัฒนสิริ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์ นายถาวร เพ็ชรบัว ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 4 นายอานนท์ บุญกัณฑ์ ผู้แทนองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐในท้องที่จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมในพิธีเปิด ณ โฟร์ทู ซี เดอะ ชิค โฮเต็ล อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
โดย นายภูษิต หิรัญพฤกษ์ ผู้อำนวยการส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า ได้บรรยายพิเศษวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมครั้งนี้ ประกอบไปด้วย ปลัดอำเภอ เกษตรอำเภอ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลตำบล เจ้าหน้าที่จากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขานครสวรรค์ ในท้องที่จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครสวรรค์ มณฑลทหารบกที่ 31 กองพันทหารช่างที่ 4 กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 ตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครสวรรค์ และจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 100 คน โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 24 มิถุนายน 2565
ทั้งนี้ ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน มอบหมายให้ โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกทำลาย และแก้ไขปัญหาไฟป่าให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “จิตอาสา” ตามโครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้นำเครือข่ายจิตอาสาพระราชทานทุกภาคส่วน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้ง สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างจิตสำนึกในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ สามารถสร้างและขยายเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง ในการที่จะร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และร่วมกันแก้ไขปัญหาไฟป่า ได้อย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน