• ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ • สำนักบริหารงานกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

หน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน จ.น่าน เสริมความรู้การขยายพันธุ์ ‘ต้นต๋าว’ ให้เยาวชน​ในพื้นที่

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 นายนัทวุฒิ อินทรรุจิกุล  หัวหน้า​หน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่หน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหนได้ให้ความรู้เกี่ยวต้นต๋าวและการขยายพันธุ์ให้กับนักเรียนโรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม อ.ท่าวังผา จ.น่าน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำวิจัยเรื่องการเพาะเลี้ยงเพาะเนื้อเยื่อต๋าว ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ตาว, ต๋าว หรือ ชก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Avenga pinnata; จังหวัดระนองเรียก “ฉก” หรือ “กาฉก”) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ปาล์มเช่นเดียวกับตาลและมะพร้าว มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อนตั้งแต่ทางตะวันออกของอินเดีย ไปจนถึงมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบมากในป่าดิบชื้น เช่น ป่าลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดน่าน

ลำต้นตรง ใหญ่กว่าต้นตาล ไม่แตกหน่อ ใบเป็นแฉกคล้ายใบมะพร้าวแต่ใหญ่กว่า ดอกเป็นดอกช่อ แยกตัวผู้ตัวเมีย ช่อดอกตัวผู้ออกได้หลายครั้ง แต่ช่อดอกตัวเมียออกเพียงครั้งเดียว ออกผลเพียงครั้งเดียวก็ตาย ผลเป็นพวงทะลายมีผลติดอยู่มากมาย เป็นพูตื้นสามพู เมื่ออ่อนสีเขียว พอแก่เป็นสีเหลืองแดงและน้ำตาล ไม่มีก้านผล โดยกลีบเลี้ยงติดกับช่อดอกโดยตรง และติดทนจนเป็นผล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด