• ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ • สำนักบริหารงานกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อุทยานฯกุยบุรี เฝ้าระวังการระบาดของโรคลัมปี สกิน ในสัตว์เลี้ยงหวั่นลามระบาดสู่สัตว์ป่า

วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี เปิดเผยว่าสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปีสกินในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ข้อมูล ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 มีสัตว์เลี้ยง ป่วยสะสมทั้งหมด 3,257 ตัว สัตว์เลี้ยงหายป่วยสะสม 1,009 ตัว ตายสะสม 225 ตัว (ท้องที่อำเภอหัวหิน 38 ตัว อำเภอปราณบุรี 43 ตัว อำเภอสามร้อยยอด 67 ตัว, อำเภอกุยบุรี 58 ตัว อำเภอเมือง 7 ตัว, อำเภอทับสะแก 6 ตัวมอำเภอบางสะพาน 4 ตัวทอำเภอบางสะพานน้อย 2 ตัว ไม่มีสัตว์ป่วยเสียชีวิตในพื้นที่ใกล้เคียงอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

นางสาวสุพร พลพันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี พร้อมด้วยสัตวแพทย์กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,สัตวแพทย์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เข้าพื้นที่เก็บตัวอย่างแมลงพาหะของโรคลัมปี สกินจำนวน 2 พื้นที่ 4 จุดเก็บตัวอย่าง พร้อมทั้งลงพื้นที่ตรวจสอบ ติดตามพื้นที่ปศุสัตว์ ที่พบการระบาดของโรคระบาดลัมปีสกิน โดยสัตวแพทย์ให้คำแนะนำในการดูแลสัตว์ที่ติดเชื้อ และการป้องกันการระบาด เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กร. 4 (หุบมะซาง) ร่วมกับปศุสัตว์อำเภอสามร้อยยอด,ผู้นำชุมชน เข้าตรวจสอบการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน ท้องที่อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เบื้องต้นวันนี้ไม่พบสัตว์ป่วยเพิ่ม

ด้านเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กร.1 (ป่ายาง) ติดตามสังเกตุกระทิงฝูงซึ่งออกมาหากินบริเวณบ่อ 5 จำนวน 157 ตัว เบื้องต้นไม่พบอาการผิดปกติของการเดิน อาการของรอยโรคลัมปี สกิน และไม่พบซากกระทิงเสียชีวิตเพิ่มเติมแต่อย่างใด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด