นักวิจัยช้างป่าจากสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวงให้ข้อมูลว่า ‘เกลือ’ จากขยะและเศษอาหารเป็นแรงดึงดูดช้างป่าให้เข้ามาใช้พื้นที่บริเวณนั้น
“เหมือนคนเสริมวิตามิน ช้างก็ต้องการแร่ธาตุ” นักวิจัยอธิบายว่า ในธรรมชาติ ช้างป่าจะได้แร่ธาตุสำคัญอย่างโซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม จาก ‘โป่งดิน’ หรือโป่งน้ำในป่า แต่เมื่อพบว่าในขยะมีเกลือแร่ง่ายๆ จากเกลือ เศษอาหาร น้ำปลา ปลาร้าและเครื่องปรุงรส ช้างจึงเริ่มจดจำและเข้าพื้นที่มากขึ้น
น่าตกใจที่พบว่า ขยะกลายเป็น ‘โป่งเทียม’ ที่อันตราย เพราะช้างอาจกินถุงพลาสติกและขยะปนเปื้อนเข้าไปด้วย
ทางออกง่ายๆ ที่ทุกคนช่วยได้ :
– จัดการขยะอย่างถูกวิธี
– เก็บเครื่องปรุงมิดชิด
– สนับสนุนการสร้างโป่งในป่า
“เมื่อช้างป่าได้แร่ธาตุเพียงพอจากธรรมชาติในจุดที่เหมาะสม ช้างป่าก็ไม่จำเป็นต้องเข้าใกล้พื้นที่ขยะ” นักวิจัยทิ้งท้าย พร้อมเน้นย้ำว่าการแก้ปัญหาช้างป่าต้องเริ่มจากความเข้าใจความต้องการที่แท้จริง
เรื่องเล็กๆ ที่เราทำวันนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของความปลอดภัยสูงสุดของช้างป่าและคนรักป่า.