วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.30 น. นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้ารับรางวัลรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2565 (Digital Government Awards 2022) จาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นรางวัลหน่วยงานคุณภาพด้านการใช้ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) เพื่อให้เกียรติและเชิดชูหน่วยงานที่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยมี นายวิชิต จิรมงคลการ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วม ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
รางวัลรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2565 (Digital Government Awards 2022) มอบให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่มีการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลในระดับสูง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจระดับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐระดับกรมและหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และสามารถสะท้อนปัญหา ความท้าทาย อุปสรรค รวมถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล อันจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในการวางแผนจัดทำนโยบาย วางมาตรการ และการจัดสรรงบประมาณด้านการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอย่างเหมาะสม เพื่อจัดทำผลการสำรวจและข้อเสนอแนะในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลจากผลสำรวจ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐแต่ละหน่วยงาน นำไปใช้วางแผนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานตนเอง และหน่วยงานภาครัฐ ส่วนกลางนำไปใช้วางแผนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศ และเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล และกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐให้ความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย
นายรัชฎา กล่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้รับรางวัลหน่วยงานคุณภาพด้านการใช้ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) จากการตอบคำถามตามแบบสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย ประจำปี 2565 พิจารณาจากระดับการดำเนินการการใช้ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐที่มีการดำเนินการทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ และการวิเคราะห์และการใช้ประโยชน์ข้อมูลในหน่วยงานกรมอุทยานแห่งชาติฯ
ประเทศไทยมีผลการสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นข้อมูลกลางที่รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและกฎระเบียบของรัฐบาลดิจิทัล การบริการอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐ และสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมให้เกิดรัฐบาลดิจิทัล เพื่อจะได้ทราบถึงสถานภาพการดำเนินงานและใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการวางแผน การกำหนดนโยบายตลอดจนการดำเนินโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ อีกทั้งหน่วยงานต่างๆ จะได้ทราบถึงสถานการณ์การพัฒนาด้านรัฐบาลดิจิทัลของตนเอง เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนา และยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลภายในหน่วยงาน และในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลระดับท้องถิ่น จะได้หน่วยงานต้นแบบระบบบริการอย่างน้อย 3 หน่วยงาน อีกทั้งได้เชื่อมความสัมพันธ์กับกลุ่ม ปท. รายภูมิภาค
อย่างน้อย ” กลุ่มต่อภูมิภาค และได้รายชื่อ อปท. อย่างน้อย 4 แห่ง ที่มีศักยภาพและมีความสนใจที่จะใช้งานระบบบริการงานให้บริการเพื่อการขยายผลออกไปเป็นวงกว้าง ต่อไป