• ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ • สำนักบริหารงานกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

สบอ.12 (นครสวรรค์) เสริมประสิทธิภาพการลาดตระเวน SMART Patrol และการตรวจที่เกิดเหตุ

วันที่ 10 ตุลาคม 2565​ นางสาววีรยา โอชะกุล ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการสร้างเสริมประสิทธิภาพเทคนิคการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART Patrol) และการตรวจสถานที่เกิดเหตุเบื้องต้น โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออกน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 45 คน โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรครูฝึกจากกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 3 วิทยากรครูฝึกจากสถานีตำรวจภูธรประจันตคาม วิทยากรครูฝึกจากพิสูจน์หลักฐานจังหวัดอุทัยธานี วิทยากรจากสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย และวิทยากรครูฝึกจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และวิทยากรจากสถานีตำรวจภูธรลานสัก ณ ศูนย์ฝึกอบรมการอนุรักษ์เสือโคร่งระดับภูมิภาค เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

การอบรมเทคนิคการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART Patrol) ให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความชำนาญ ฝึกการใช้แผนที่ เข็มทิศ และเครื่องกำหนดพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS) เทคนิคการบันทึกข้อมูลสัตว์ป่า และข้อมูลปัจจัยคุกคามควบคู่กับการลาดตระเวน​องค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาจิตสำนึกในการทำงานอนุรักษ์สัตว์ป่า​เทคนิคการสืบสวนคดีป่าไม้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป่าไม้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การฝึกปฏิบัติการสืบสภาพพื้นที่เป้าหมาย การรวบรวมหลักฐานในพื้นที่เกิดเหตุ การประยุกต์ใช้เทคนิคลาดตระเวนควบคู่กับผลจากระบบฐานข้อมูลลาดตระเวนเพื่อการวางแผนตามยุทธศาสตร์ลาดตระเวน​ ความรู้พื้นฐานในการใช้ “นิติวิทยาศาสตร์” มาประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีความ เพื่อผลในการบังคับใช้กฎหมายและการลงโทษ​ การฝึกปฏิบัติการตรวจสถานที่ซึ่งเกิดเหตุการณ์ทางคดีป่าไม้และทรัพยากรของชาติเบื้องต้น

การตรวจสถานที่เกิดเหตุ (CSI : Crime Scene Investigation) เป็นการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากการตรวจสถานที่เกิดเหตุ (Crime scene investigation) หลัง จากคนร้ายก่อเหตุและหลบหนีไปแล้ว และคนร้ายมักจะฉวยโอกาสลงมือก่อเหตุในช่วงที่ปลอดคน ไม่มีใครเห็นเหตุการณ์ จึงไม่มีพยานบุคคลระบุยืนยันตัวคนร้ายได้ จำต้องอาศัยวิธีการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ มาช่วยในการสืบสวนหาตัวคนร้าย  ในต่างประเทศ การตรวจสถานที่เกิดเหตุ และการจัดทำแผนประทุษกรรมในที่เกิดเหตุ ตลอดจนพฤติกรรมคนร้าย ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุตลอดจนพฤติกรรมของคนร้าย ในแต่ละคดีที่เกิดขึ้น จะถูกเก็บรวบรวมไว้ในคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์  VCAP หรือViocent Criminal Apprehenfion เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตำรวจหน่วยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CIA FBI หรือ สถานีตำรวจท้องที่ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของคดี และช่วยกันตรวจสอบเปรียบเทียบลักษณะคดี และพยานหลักฐานที่ได้ ว่าตรงกับคดีใด ของท้องที่ใดบ้าง เมื่อจับผู้ต้องสงสัยได้ก็จะส่งประวัติ กรุ๊ปเลือด เส้นผม น้ำอสุจิ ไปตรวจพิสูจน์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน นิติวิทยาศาสตร์ และ พฤติกรรมศาสตร์มาวิเคราะห์ ว่าผู้ต้องหาสงสัยน่าจะเป็นคนร้ายในคดีใดบ้าง เพื่อบ่งชี้ตัวคนร้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด