วันที่ 9 มีนาคม 2565 นายณัฐวุฒิ จินารัตน์ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าเขาพระวิหาร เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าเขาพระวิหาร ร่วมกับเครือข่ายการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน บ้านโศกขามป้อม ม.4 ต.ภูผาหมอก อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ร่วมกันติดป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ป้องกันไฟป่า บริเวณถนนทางเข้าเขื่อนห้วยขนุน อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
ฝุ่นพิษขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่เคยเป็นปัญหาใหญ่ของคนกรุงเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ขณะนี้ได้เข้าปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน และกำลังจะกลายเป็นต้นเหตุภัยสุขภาพของคนในพื้นที่ ไฟป่าเกือบ 100% เกิดจากฝีมือมนุษย์ ต้องแก้ที่ตัวมนุษย์ คือทำอย่างไรให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือการสร้างความเข้มแข้งให้กับชุมชน ไม่เช่นนั้นก็คงทำได้แค่ตามดับไฟโดยที่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนจุด” ความเห็นส่วนใหญ่จากภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นตรงกันว่า “กระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน” คือหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่กำลังลุกลามอยู่ในขณะนี้ ชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐจะไม่มีทางเข้าไปยับยั้งการเผาของคนในชุมชนได้สำเร็จเลย ยังมีเงื่อนไขข้อจำกัดอย่างมากในการจัดการด้วยระบบโครงสร้างของหน่วยงานรัฐ หากต้องการแก้ไขปัญหาให้ได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับและปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด และเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม