• ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ • สำนักบริหารงานกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเหรง ออกสำรวจ ‘ดอกบัวผุด’ พบมีทั้งดอกตูมและบานรวม 12 ดอก

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 นายกฤษฎา สุขาเขิน หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเหรง พร้อมเจ้าหน้าที่สำรวจดอกบัวผุดบริเวณบ้านควนยาง หมู่ 11 ต.นาหว้า อ.จะนะ จ.สงขลา ภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเหรง พบดอกบัวผุดใกล้บาน จำนวน 2 ดอก ขนาดเส้นรอบวงดอก 75 – 67 เซนติเมตร และดอกตูม 2 ดอก ขนาด 49 และ 42 เซนติเมตร และ ดอกตูมขนาดเล็กอีก 8 ดอก

บัวผุด หรือ บัวตูม เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนรากของพืชจำพวกสกุลเครือเขาน้ำ มีลักษณะเด่นที่ดอกซึ่งเป็นดอกเดียวขึ้นจากพื้นดินมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเหม็นมาก ให้เห็นระหว่างฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ดอกตูมอยู่จะคล้ายกับหม้อขนาดใหญ่มีกลีบหนาจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 70-80 เซนติเมตร ที่โคนของดอกมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลมจานนี้จะซ้อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง ดอกของบัวผุดใช้เวลาตั้งแต่เป็นดอกตูมจนบานถึง 9เดือน ดอกจะบานอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ ดำเน่าไป และขณะนี้มีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ ฉะนั้นเมื่อนักท่องเที่ยวไปเดินป่าเพื่อชมดอกบัวผุดจึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะอาจจะไปเหยียบย่ำบนดอกตูมของบัวผุดได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด