• ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ • สำนักบริหารงานกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อุทยาน​แห่งชาติแม่โถ ลาดตระเวนพบ ‘กระโถนพระฤาษี’ พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์​

วันที่ 14 มีนาคม​ 2565 นายมั่น ขันธ์ทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่โถ เปิดเผย​ว่า​ เจ้า​หน้าที่​หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่โถ ที่ มถ.1 (เชิงผา) อุทยาน​แห่งชาติ​แม่โถ ลาดตระเวนพบกระโถนพระฤาษี พืชหายากในประเทศไทยกระโถนพระฤาษี ราชินีแห่งกาฝากที่สามารถฝากตัวได้ทั้งบนพิ้นดินและแขวนลอยตามต้นไม้ จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับบัวผุด เป็นพืชเบียนคือมันจะอาศัยเกาะอยู่ตามรากไม้ของพืชเถาวัลย์จำพวกเครือเถาน้ำ แทงเนื้อเยื่อในส่วนที่เป็นเส้นใยเข้าไปในรากของพืชอาศัยเพื่อดูดกินอาหาร เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ตาดอกจะค่อยๆพัฒนาอยู่ในส่วนของพืชอาศัยจนดอกตูมแล้วโผล่พ้นขึ้นมาบนผิวดิน เมื่อดอกบานจะมีลักษณะคล้ายกระโถนปากแตร กลับดอกของกระโถนพระฤาษีมีทั้งหมด 10 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้นๆละ 5 กลีบ กลีบดอกมีสีแดงสดและมีจุดประซึ่งเรียกว่าหูดสีเหลืองกระจายอยู่บนกลีบดอก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของดอกอยู่ที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร

กระโถนพระฤาษี เมื่อบานแล้วจะมีกลิ่นเหม็นแต่ผมลองก้มลงไปดมแล้วผมว่าเฉยๆนะ กลิ่นเหม็นนี้จะช่วยล่อแมลงวันมาช่วยในการผสมพันธุ์เพราะกระโถนพระฤาษีเป็นพืชที่แยกเพศอยู่กันคนละดอก กระโถนพระฤาษีจัดเป็นพืชที่ค่อนข้างหาดูได้ยากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องมาจากการบุกรุกทำลายป่าของมนุษย์ ส่วนดอกมีลักษณะคล้ายปากแตรหรือถ้วยขนาดใหญ่กลีบดอกมี 10 กลีบสีแดงสด มีจุดประสีขาวหรือสีเหลืองสวยงามสะดุดตา เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 เซนติเมตร โคนกลีบเชื่อมกันเป็นท่อกึ่งกลางดอกเป็นช่องเปิดลงสู่แอ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของเส้าเกสร กระโถนฤาษีเป็นพืชอาศัยเบียนโดยแทงรากเพื่อดูดกินน้ำและอาหารจากรากเถาวัลย์ของต้นเครือเขาน้ำ หุ่นเป และเถาส้มกุ้ง จนถึงวัยเจริญพันธุ์จึงส่งตาดอกผุดขึ้นเหนือพื้นดิน โดยใช้กลิ่นเหม็นล่อแมลงมาให้ช่วยผสมพันธุ์ เพราะมันเป็นพืชที่แยกเพศอยู่กันคนละดอก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด