วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.30 น. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดกิจกรรมเนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพประจำปี พ.ศ 2566 “From Agreement to Action Build Back Bio diversity” โดยมีนายจิระพงษ์ คูหากาญจน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช พร้อมด้วยนายวรดลต์ แจ่มจำรูญ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอนุกรมวิธานพืช นางใกล้รุ่ง พูลผล นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า นางนิลุบล กัณหา ผู้อำนวยการส่วนความหลากหลายทางชีวภาพ และเจ้าหน้าที่สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน นักวิชาการ นักเรียนและนักศึกษาภาคประชาชน สื่อมวลชน และองค์กรอิสระ เข้าร่วมประมาณ 300 คน ณ ห้องเมย์แฟร์ แกรนด์ บอลรูม ชั้น 11 โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร
กิจกรรมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพประจำปี พ.ศ 2566 เป็นความร่วมมือของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) บริษัท ดิทโต้ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท บุษราคัม ออยล์ (ประเทศไทย) จำกัด และเครือข่ายจัดกิจกรรมเนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำปี 2566 ในหัวข้อ “From Agreement toAction: Build Back Biodiversity” เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาฬให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับการดำเนินงาน และพันธกรณีของประชาคมโลก
ภายในงานมีการจัดกิจกรรม IDB Talk หัวข้อ “บทบาทของภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมกับภารกิจ 2030 Mission ลดการสูญเสีย เพิ่มการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน” และการเสวนา ในหัวข้อ “OECMs โอกาสในการบรรลุเป้าหมาย 30 x 30 ของประเทศไทย” และการจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานจากหน่วยงานรัฐและภาคธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย โดยเฉพาะการจัดทำเป้าหมายระดับชาติ (national targets) ภายใต้แผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2566 – 2570 ควบคู่ไปกับการจัดเตรียมแผนที่นำทางการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2567 – 2590 และให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพที่ต้องควบคู่กันไป
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยสำนักวิจัยการอนุรักษ์ ได้ร่วมจัดนิรรศการและจัดกิจกรรมบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้กรอบงานคุนหมิง – มอนทรีออล โดยเป็นการนำเสนอผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานในพื้นที่อนุรักษ์ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อส่งต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีแก่พี่น้องประชาชน