วันที่ 25 สิงหาคม 2565 นายสัตวแพทย์ปิยะ เสรีรักษ์ นายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) เปิดเผยว่า สัตวแพทย์และสัตวบาล สบอ.5 (นครศรีธรรมราช) สบอ.4 (สุราษฎร์ธานี) สบอ.6 (สงขลา) เจ้าหน้าที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าโตนงาช้าง เจ้าหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพัทลุง และเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทุ่งทะเลทำงานเป็นทีมจับลิง ตามโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากสัตว์ป่าคุ้มครอง (ลิงแสม) ประจำปีงบประมาณ 2565 บริเวณพื้นที่ตำบลควนโดน ย่านซื่อ ควนสตอ และวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล โดยสามารถทำหมันได้ทั้งหมด 10 ตัว แบ่งเป็นเพศผู้วัยรุ่น 3 ตัว เพศผู้ตัวเต็มวัย 4 ตัว รวม 7 ตัว และเพศเมียวัยรุ่น 5 ตัว เพศเมียเต็มวัย 1 ตัว รวม 6 ตัว ยอดลิงสะสมที่ทำหมันแล้ว 414 ตัว
ปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างคน -สัตว์ป่าเป็นปัญหาที่พบได้ในหลายประเทศและหลายพื้นที่และหลากหลายชนิดพันธุ์ สืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ทำให้มีการขยายพื้นที่ชุมชนเข้าไปในพื้นที่ถิ่นอาศัยเดิมของสัตว์ป่าคนกับสัตว์ป่าจึงมีการซ้อนทับทั้งในเรื่องของพื้นที่ถิ่นอาศัยและอาหารโดยเฉพาะชุมชนกับสัตว์ป่าที่อยู่ตามแนวเขตพื้นที่ปารวมถึงสัตว์ป่าที่อาศัยซ้อนทับกับพื้นที่ชุมชน ลิง เป็นสัตว์กลุ่มหนึ่งที่มีพื้นที่อาศัยใกล้ชิดกับชุมชนและมีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างคนในชุมชนกับลิงทั้งในแง่ของการรบกวน สร้างความรำคาญ ทำลายทรัพย์สิน ผลผลิตพืชสวน และทำอันตรายแก่กัน
ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสิงและถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืนเนื่องจากสภาพปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับลิงในพื้นที่ชุมชนเมืองซึ่งเกิดจากการใช้ประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนกัน เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ