วันที่ 14 กันยายน 2565 นางรุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานเปิดการประชุมการเสริมสร้างความร่วมมือด้านข้อกำหนดการค้าไม้ และการติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าบริเวณชายแดนแบบเรียลไทม์ กับตัวแทนจากประเทศกัมพูชา และ นายวันชัย จริยาเศรษฐโชค รองอธิบดีกรมป่าไม้ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (VDO Conference) โดยมีนายจิระพงษ์ คูหากาญจน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารอเนกประสงค์ กรมอุทยานแห่งชาติฯ
โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือร่วมกันในเบื้องต้นเกี่ยวกับการดำเนินการในเรื่องบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา การประสานงานและความร่วมมือ แบ่งปันข้อมูลความเชี่ยวชาญทางเทคนิค และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการค้าไม้ เพื่อปรับปรุงการออกแบบและการใช้งานระบบการแจ้งเตือน และการติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าแบบในช่วงใกล้เคียงเวลาจริง (Near Real-Time) บริเวณชายแดนของประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดการค้าไม้ที่ถูกกฎหมายในทั้งสองประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของโครงการ UN-REDD ว่าด้วยการค้าไม้อย่างยั่งยืนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง (SFT-LMR) ให้มากยิ่งขึ้น
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (DNP) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ร่วมมือกันภายใต้การสนับสนุนในความคิดริเริ่มเกี่ยวกับบทบาทของประเทศไทยต่อการพัฒนาเรดด์พลัสระดับนานาชาติ (UN-REDD) ว่าด้วยการค้าไม้อย่างยั่งยืนในภูมิภาคแม่น้ำโขงตอนล่าง (SFT-LMR) ในประเทศไทย โดยการดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยตรง (Direct Assistance: DA) ได้รวมอยู่ในการสนับสนุนด้านเทคนิคในระดับชาติและการติดตามตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้และที่ดิน ความร่วมมือด้านพื้นที่คุ้มครองและการจัดการภูมิทัศน์ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณชายแดนของประเทศไทยและประเทศกัมพูชา และเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค ในการตรวจสอบการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่าในช่วงใกล้เคียงเวลาจริง (Near-Realtime Monitoring) การแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันเพื่อยับยั้งการตัดไม้ที่ผิดกฎหมายภายใต้ระบบตรวจสอบ ปกป้องระบบข้อมูล และระบบสารสนเทศ
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับทุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) ในการสร้างขีดความสามารถระดับโลกเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในภาคป่าไม้ (CBIT-Forest) ทั้งนี้ FAO ได้ช่วยเหลือ DNP ในการพัฒนาระดับการการปล่อยอ้างอิงและระดับอ้างอิง ( FREL/FRL) ในโครงการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเรดด์พลัสของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยสามารถกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่จะใช้ในการตรวจวัดติดตาม และรายงาน (Measurement Monitoring and Report: MMR) ภายใต้ระบบการติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรปำไม้ระดับชาติ (National Forest Monitoring System: NFMS) ในส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ข้อมูลการสำรวจทรัพยากรป้ไม้แห่งชาติ (National Forest Inventory: NF) จะทำการวิเคราะห์ร่วมกันกับข้อมูลจากการสำรวจระยะไกลที่ได้รับการพัฒนาสำหรับประเทศไทย ประสานและตีความใหม่ในการประเมินปริมาณคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสของข้อมูลด้านทรัพยากรป่าไม้ สำหรับการายงานในระดับนานาชาติ
ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือในการจัดการพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพข้ามพรมแดนระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมการบริหารการอนุรักษ์และการปกป้องธรรมชาติ กระทรวงสิ่งแวดล้อม แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 31 มกราคม 2566 โดยบันทึกความเข้าใจ (MOU) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพข้ามพรมแดน ระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ในพื้นที่ดำเนินงาน 3 พื้นที่ ได้แก่
1) บริเวณกลุ่มป้าพนมดงรักผาแต้ม เชื่อมต่อ Preah Vihear Protected Landscape ของกัมพูชาซึ่งพื้นที่คุ้มครองของประเทศไทยที่เชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชา คือ อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย จังหวัดอุบลราชธานีอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดมจังหวัดอุบลราชธานี
2) บริเวณกลุ่มป้าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เชื่อมต่อ Banteay Chhmar Protected Landscape ของกัมพูชา ซึ่งพื้นที่คุ้มครองของประเทศไทยที่เชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชา คือ อุทยานแห่งชาติตาพระยา จังหวัดสระแก้วและจังหวัดบุรีรัมย์
3) บริเวณกลุ่มบำตะวันออก เชื่อมต่อ Samlaut Muttiple Use Management Area และ Phanom Samkos Vildife Sanctuary ของกัมพูชา ซึ่งพื้นที่คุ้มครองของประเทศไทยที่เชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชาคือ อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว จังหวัดตราด และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวายเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดจันทบุรี